สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 15-21 กุมภาพันธ์ 2564

 

ข้าว
 
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร 
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกรได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,871 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,840 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,260 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 9,100 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.76
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 27,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,970 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,600 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.04
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 882 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,182 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 902 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,780 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.22 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 598 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 550 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,327 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 569 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,893 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.34 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 566 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 553 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,416 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 565 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,775 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.12 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 359 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.6853 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2563/64 ณ เดือนมกุมภาพันธ์ 2564 ผลผลิต 504.020 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 497.165 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2562/63 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.38
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2563/64 ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีปริมาณผลผลิต 504.020ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.38 การใช้ในประเทศ 504.205 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.70 การส่งออก/นำเข้า 46.121 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 2.95 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 178.098 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2562/63 ร้อยละ 0.10
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย เมียนมา กัมพูชา จีน อียู กายานา อินเดีย ปากีสถาน ไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย ตุรกี และอุรุกวัย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังกลาเทศ เบนิน คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ เอธิโอเปีย อียู กานา อิหร่าน อิรัก เคนย่า ไนจีเรีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บราซิล จีน กินี มาเลเซีย เม็กซิโก เนปาล ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอเมริกา
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังกลาเทศ อินโดนีเซีย ไทยและสหรัฐอเมริกา
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินเดียและญี่ปุ่น
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
บังคลาเทศ
รัฐบาลบังคลาเทศกำลังวางแผนแก้ไขกฎระเบียบในการนำเข้าข้าวผ่านการประมูลระหว่างประเทศ (International tenders) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการรักษาเสถียรภาพของราคาข้าวในประเทศ
กฎการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะในปัจจุบัน (The public procurement rules; PPR) ช่วยให้ประหยัดเวลา
สำหรับการซื้อในประเทศ อย่างไรก็ตามกฎระเบียบดังกล่าวไม่ได้ระบุวิธีการลดเวลาในการจัดหาสำหรับการนำเข้าผ่านการประมูลระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันใช้เวลา 40-42 วัน ในการนำเข้าข้าวผ่านการประมูลระหว่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า เนื่องจากภาวะราคาข้าวมีความผันผวนในแต่ละวันในตลาดต่างประเทศ ดังนั้นการจัดซื้อจัดจ้างจึงต้องดำเนินการในระยะเวลาอันสั้นเพื่อให้ได้ราคาที่สามารถแข่งขันได้
โดยกระบวนการประกวดราคาระหว่างประเทศทั้งหมดไม่ควรใช้เวลาเกิน 1 สัปดาห์
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง (The Finance Ministry) รายงานว่า ได้สั่งการให้กองติดตามและประเมินผล
การดำเนินการ (the Implementation Monitoring and Evaluation Division; IMED) ให้ดำเนินการแก้ไขกฎการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะเพื่อลดเวลาในการจัดซื้อจัดจ้างผ่านการนำเข้า
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
อิหร่าน
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน รายงานว่า จากปัญหาการทำธุรกรรมด้านการเงินระหว่างประเทศ ค่าเงินเรียลที่ตกต่ำเป็นประวัติการณ์และปัญหาการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งมีสาเหตุมาจากมาตรการคว่ำบาตรอย่างเข้มข้นของสหรัฐฯ ต่ออิหร่านที่ดำเนินการต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 4 ส่งผลให้อิหร่านต้องปรับเปลี่ยนนโยบายและทิศทางการค้าในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งอิหร่านได้มุ่งเน้นนโยบายพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศ
เพื่อนบ้านเป็นหลัก โดยใช้ประโยชน์สูงสุดจากความสัมพันธ์ดั้งเดิมที่มีและข้อตกลงทางการค้าของกลุ่มการค้าในภูมิภาคที่อิหร่านเป็นพันธภาคีรวมถึงการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเส้นทางขนส่งสินค้าที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแนวระเบียงเศรษฐกิจและระเบียงขนส่งเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งได้รับการพัฒนายกระดับและขยายตัวขนานใหญ่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาตามนโยบายรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมของจีน
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าท่ามกลางปัญหาและมาตรการกดดันดังกล่าว อิหร่าน
ได้พยายามหารือรูปแบบการทำธุรกรรมทางการค้ากับประเทศคู่ค้ารายสำคัญๆ ในภูมิภาคมาโดยตลอด โดยมีรูปแบบการค้าที่ได้นำไปสู่การปฏิบัติแล้วดังนี้ การค้าแบบแลกเปลี่ยนสินค้าหรือ Barter Trade การค้าแบบหักบัญชี
เป็นสกุลเงินท้องถิ่นหรือสกุลเงินกลางอื่นๆ ที่ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐฯ และการค้าแบบ Oils for Goods ซึ่งปัจจุบันถูกนำมาใช้กับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกับอิหร่านเป็นหลัก เช่น อิรัก อัฟกานิสถาน และประเทศในสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย หรือ Eurasian Economic Union (EAEU) ที่มีสมาชิก 5 ประเทศ เป็นต้น ดังนั้นการประกาศความพร้อม
ในการใช้รูปแบบการค้าตามนโยบายไฟฟ้าแลกข้าวกับประเทศปากีสถานในครั้งนี้ของอิหร่านจึงถือเป็นพัฒนาการสำคัญอีกก้าวในการนำรูปแบบการค้าระหว่างประเทศรูปแบบใหม่ๆ มาใช้อีกครั้ง ทั้งนี้ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีของปากีสถานเพื่อนำเสนอรูปแบบการค้าดังกล่าวแล้ว โดยทั้งสองฝ่ายยืนยันความตั้งใจในการผลักดันมูลค่าการค้าระหว่างกันจากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ
1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในอนาคตอันใกล้
ปัจจุบันอิหร่านกำลังรอคำตอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสถาบันการเงินของปากีสถานในการตัดสินใจเข้าร่วมระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าดังกล่าว โดยคาดว่าจะสามารถลงนามข้อตกลงร่วมกันได้ในการประชุม
Iran-Pakistan Joint Trade Committee ที่อิหร่านจะเป็นเจ้าภาพในครั้งถัดไป ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นภายในไตรมาสแรกของปี 2564 ทั้งนี้จากปฏิกิริยาตอบรับพบว่าภาคเอกชนของปากีสถาน โดยเฉพาะสมาคมผู้ส่งออกข้าวของปากีสถาน
มีความสนใจและสนับสนุนให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาตอบรับข้อเสนอดังกล่าวของอิหร่านโดยเร็ว
เพื่อแก้ไขปัญหาการชำระเงินระหว่างประเทศที่กำลังเผชิญในปัจจุบัน รวมถึงเพื่อขยายมูลค่าและปริมาณ
การส่งออกข้าวบาสมาติของปากีสถานไปยังอิหร่านเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งหากคิดเทียบเป็นสัดส่วนกับมูลค่าของกระแสไฟฟ้าที่ปากีสถานนำเข้าจากอิหร่านในแต่ละปีจะเป็นมูลค่าการส่งออกข้าวที่สูงพอสมควรที่ปากีสถานจะได้รับ
ในแต่ละปีจากข้อมูลของธนาคารโลกในปี 2563พบว่าอิหร่านนำเข้าข้าวจากปากีสถาน จำนวน 77,000 กิโลกรัมมูลค่า 67,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ผ่านด่านศุลกากรที่เปิดให้บริการ 2 แห่ง) ซึ่งเป็นจำนวนและมูลค่าที่อาจจะไม่สะท้อนความเป็นจริงเท่าใดนัก เพราะการค้าส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามแนวพรมแดนที่มีระยะทาง 959 กิโลเมตร ในรูปแบบการค้านอกระบบ
ในขณะเดียวกันปากีสถานซื้อไฟฟ้าจากอิหร่าน ในปี2563ปริมาณ 104 เมกะวัตต์คิดเป็นมูลค่าประมาณ 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2564ปากีสถานมีเป้าหมายซื้อไฟฟ้าจากอิหร่านเพิ่มเป็น 200 เมกะวัตต์ในขณะเดียวกัน ปัจจุบันอิหร่านมีศักยภาพและความพร้อมในการส่งออกไฟฟ้าสูงถึง 3,000 เมกะวัตต์อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนของปากีสถานไม่ต้องการเห็นเพียงการแลกไฟฟ้ากับข้าวเท่านั้นที่ปากีสถานมีศักยภาพในการจัดส่งให้อิหร่านได้สูงถึง 1 ล้านตันต่อปีแต่อยากให้ภาครัฐเจรจาครอบคลุมไปถึงการแลกก๊าซธรรมชาติของอิหร่าน (LPG) กับข้าวบาสมาติของปากีสถานซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอิหร่านด้วย
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย




กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.27 บาท
สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.62 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  9.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.39 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 324.20 ดอลลาร์สหรัฐ (9,624 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 320.33 ดอลลาร์สหรัฐ (9,511 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.21 และสูงขึ้นในรูปของ        เงินบาทตันละ 113 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2563/64 มีปริมาณ 1,150.52 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,133.66 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 1.49 โดยจีน อาร์เจนตินา เวียดนาม รัสเซีย บราซิล แคนาดา ไนจีเรีย เม็กซิโก อินโดนีเซีย อินเดีย แอฟริกาใต้ และญี่ปุ่น มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 184.16 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 175.03 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 5.22 โดย สหรัฐอเมริกา บราซิล เซอร์เบีย ปารากวัย แอฟริกาใต้ และอินเดีย ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น  อิหร่าน บราซิล โคลอมเบีย คอสตาริก้า โมร็อกโก  เปรู มาเลเซีย ชิลี สาธารณรัฐโดมินิกัน อิสราเอล กัวเตมาลา และแอลจีเรีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 547.32 เซนต์ (6,490บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 546.76 เซนต์(6,488 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 2 บาท




 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.163 ล้านไร่ ผลผลิต 30.108 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.286 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 ร้อยละ 3.82 และร้อยละ 1.05 ตามลำดับ โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.75 ล้านตัน (ร้อยละ 22.60 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.47 ล้านตัน (ร้อยละ 61.81 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ความต้องการใช้หัวมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าจะอยู่ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.09 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.08 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.48
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.84 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.04 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.31
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.84 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.80 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.59
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.55 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.50 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.37
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 258 ดอลลาร์สหรัฐ 7,659 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,660 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 480 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,249 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 473 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,043 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.48


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.015 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.183 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 0.806 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.145 ล้านตัน ของเดือนมกราคม คิดเป็นร้อยละ 25.93 และร้อยละ 26.21 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 7.11 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 6.99 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.72
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 39.65 บาท ลดลงจาก กก.ละ 39.75 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.25        
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
บริษัท ไซม์ ดาร์บี้ คาดการณ์ว่าปี 2564 ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2563 การเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำมันปาล์มดิบอาจส่งผลถึงราคาน้ำมันปาล์มดิบที่คาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 3,100 ริงกิต ในครึ่งปีแรก และตันละ 3,000 ริงกิต ในครึ่งปีหลัง สัญญาซื้อขาย ณ วันที่ 18 ก.พ. 64 อยู่ที่ตันละ 3,528 ริงกิต 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,945.56 ดอลลาร์มาเลเซีย (29.69 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,897.37 ดอลลาร์มาเลเซีย (29.23 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.24  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,111.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.53 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,107.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.38 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.34 
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
         
          ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          สมาคมโรงงานน้ำตาลในรัฐอุตรประเทศ (UPSMA) กำลังขอความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลในการจ่ายค่าอ้อย โดยกล่าวว่า ปริมาณน้ำตาลในอ้อยที่น้อย ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นถึง 150 รูปี/100 กิโลกรัม (2.05 เหรียญสหรัฐฯ/ 100 กิโลกรัม) และเนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้นยิ่งทำให้แย่ลง บริษัท Simbhaoli Sugar รายงามผลขาดทุนสุทธิ 20 ล้านรูปี (275,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สำหรับไตรมาสสิ้นสุดเดือนธันวาคม จากการขาดทุน 90 ล้านรูปี (1.2 เหรียญสหรัฐฯ) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 17.05 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.00 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.29
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 19.75 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ  
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,380.10 เซนต์ (15.27 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,376.52 เซนต์ (15.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.26
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 427.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 430.74 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.73
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 47.13 เซนต์ (31.29 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 45.90 เซนต์ (30.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.68


 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด

 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.46 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 29.36 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.75
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,181.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,180.25 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,113.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.05 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,112.25 ดอลลาร์สหรัฐ (33.02 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,283.00 ดอลลาร์สหรัฐ (38.09 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,281.75 ดอลลาร์สหรัฐ (38.05 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 672.00 ดอลลาร์สหรัฐ (19.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตัน 671.50 ดอลลาร์สหรัฐ (19.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,140.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.86 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,139.50 ดอลลาร์สหรัฐ (33.83 บาท/กิโลกรัม) สัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.05
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.89 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 5.26 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 88.54 เซนต์(กิโลกรัมละ 58.79 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 85.91 เซนต์ (กิโลกรัม 57.08 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.06 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.71 บาท)


 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,880 บาท สูงขึ้นจาก 1, 823 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 3.12 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,880 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,552 บาท สูงขึ้นจาก 1, 535 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 1.11 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,552 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน  
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  76.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.62 คิดเป็นร้อยละ 0.79 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 72.88 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.45 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.52 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 78.52 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,700 บาท ลดลงจากตัวละ 2,800 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.57 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท ลดลงจาก เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.61 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่าน เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดยังคงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.74  คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อยจากการเปิดภาคเรียน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 270 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 273 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.10 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 303 บาท        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 257 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน 
ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 250 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 344 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 345 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 361 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 362 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 315 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 347 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 340 บาท จากสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 98.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.46 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 99.09 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.22 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.43 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.57 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.82 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 15 – 21 กุมภาพันธ์ 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
 สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.63 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.32 บาท
 สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 137.98 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 137.71 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.27 บาท
 สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 134.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 138.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.16 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 63.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.24 บาท
 สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.95 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.18 บาท
 สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา